การวางแผนภาษีบุคคล
1. หลักทั่วไป การวางแผนภาษี เพื่อประหยัดภาษี จากการมีเงินได้
2. เงินได้ หรือรายรับรวมแต่ละปีเรียก เงินได้พึงประเมิน เงินได้ บุคคลธรรมดา มี 40(1)-(8) ไล่ไปตั้งแต่ ราชการ งานจ้าง พนักงาน รับค่าตอบแทน ลิขสิทธิ์ ค่าเช่า อิสระ ฟรีแลนซ์ รับจ้างก่อสร้าง ค้าขาย อื่นๆ
3. ค่าใช้จ่าย แต่ละคน กฎหมายให้คิดค่าใช้จ่ายจากเงินได้พึงประเมิน แต่ละอาชีพ เท่าเทียมกัน ถ้าใครมีหลายอาชีพก็เอามานับรวมกันให้หมด
4. ค่าลดหย่อน กฎหมาย ให้นำสิทธิบางอย่างมาหักออกจากเงินได้ ก่อนที่จะเอาที่เหลือไปคำนวณภาษี การวางแผนภาษีจึงใช้การลดหย่อนเป็นหลัก
5. เงินได้สุทธิ คือ จำนวนเงินที่เหลือสุดท้าย ที่จะถูกนำไปคำนวณภาษี
6. การคำนวณภาษี ตามฐาน 0% 5% 10% 15% 20% 25% 30% 0% คือ ฐาน 150,000 แรก ที่ได้รับยกเว้น ตามมติ ครม. ภาษี ณ ที่จ่าย คือเงินที่โปรแกรมภาษีคำนวณ ตามรายได้ระหว่างปี และถูกนำส่งสรรพากร ไว้แล้ว ภาษี ณ ที่จ่าย เช่น เงินได้ ต่อปี 1,200,000บาท เป็นคนโสด หัก คชจ. 100,000 บาท หักค่าลดหย่อน 60,000 บาท เหลือ 1,100,000 บาท เข้าฐานภาษี 25% เป็นภาษี ที่ต้องเสียต่อปี 125,000 บาท โปรแกรมจ่ายเงินได้จะหักเงินไว้ หาร 12 เฉลี่ย เดือนละ 10,000 บาท โดยประมาณ
7. หน้าที่เรา คือวางแผนให้ฐานภาษีลดเหลือ ฐาน 10 หรือ 15% เป็นอย่างสูง
8. การขอคืนภาษี คือ ใช้สิทธิทำเรื่อง ขอเงินภาษีที่เสียไประหว่างปีนั้นคืน การยื่นเพื่อเสียภาษี เป็นหน้าที่ของผู้มีเงินได้ทุกคน ต้องยื่น ภงด. 90,91 หลังวันที่ 1 ม.ค.-31 ม.ค. ของทุกปี เงินได้มากน้อยก็ต้องยื่น การไม่ยื่นหรือยื่นเลยเวลา จะถูกค่าปรับเงินเพิ่ม สรรพากร มีดาบ สรรพากร มีอำนาจยึดทรัพย์สินของคนที่ค้างภาษี ไปขายทอดตลาดโดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาล
9. สามีภรรยาที่มีเงินได้ ควรแยกยื่นภาษี เนื่องจากจะได้รับสิทธิ ค่าใช้จ่าย และลดหย่อนส่วนตัว และบุตรก็สามารถลดหย่อนซ้ำซ้อนได้
10. การวางแผนภาษี เพื่อประหยัดภาษี เพื่อให้เสียภาษีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งไม่ใช่การหลบเลี่ยงภาษี
การวางแผนภาษีจากค่าลดหย่อน ประกันชีวิต ทุกคนควรทำประกันชีวิต เพราะกฎหมายไทย ให้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ประกันชีวิต ที่ใช้ลดภาษีได้ คือประกันชีวิตที่คุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และเฉพาะทุนหลักเท่านั้น สัญญาเพิ่มเติม หลังปี 2552 ใช้ลดไม่ได้ เช่น ค่ารักษา ค่าชดเชย อุบัติเหตุ โรคร้ายแรง แต่จะมีบางช่วงที่ ครม. อนุมัติ ประกันสุขภาพ ไม่เกิน 15000 บาท เป็นต้น
11. ข้อแนะนำสำหรับประกันชีวิต ประกันชีวิตที่ใช้ลดภาษีได้มี 2 แบบ คือแบบทั่วไป ใช้ลดได้ไม่เกิน 100,000 บาท
แบบบำนาญ ใช้ลดได้ไม่เกิน 15%ของเงินได้ และไม่เกิน 200,000 บาท เพิ่มเติมจากแบบธรรมดา เพราะรัฐส่งเสริม การจัดสรรเงินเพื่อซื้อประกัน ลดภาษี โดยปกติจะใช้เงิน 10% ของเงินได้ เพื่อคุ้มครอง 100% ดังนั้นเบี้ยประกันชีวิต จึงไม่ควรเกิน 10%
การจัดสรร Allocation สมมุติมีรายได้เดือนละ 100,000 บาท ปีละ 1,200,000บาท ควรใช้เบี้ยประกันปีละ 120,000 บาท โดย ทำประกันหลัก 100,000 บาท สัญญาเพิ่มเติม 20,000 บาท เบี้ยประกันสัญญาหลัก 100,000 บาท ควรทำประกัน แบบตลอดชีพ หรือแบบกำหนดเวลา 33,000 บาท เน้นคุ้มครองมากที่สุด
แบบสะสมทรัพย์ 33,000 บาท เพื่อเป็นเงินออมแบบมีวินัย แบบควบการลงทุน หรือ unit link 33,000 บาท เพื่อผลตอบแทนที่สูง แบบประกัน unitlink จะใช้ลดภาษีได้เฉพาะส่วนที่เป็นค่าการประกันภัย ส่วนเงินที่ไปลงทุนในกองทุนรวมนั้นไม่สามารถนำมาลดได้
แบบบำนาญ เบี้ยประกันตัวนี้ จะใช้สำหรับออมเพื่อการเกษียณ ได้อีก 200,000 บาท เต็มที่ แบบบำนาญจะมีชื่อ บำนาญ ไม่ใช่สะสมทรัพย์ แบบบำนาญ หรือ Annuity ต้องมีเงินคืนเป็นเดือนหรือปี หลังเกษียณ เช่น แบบบำนาญ 60/85 กรณีเงินได้ 1,200,000 ก็สามารถซื้อได้ ไม่เกิน 180,000 บาท และมีภาระจ่ายไปถึง อายุ 55 หรือ 60 หรือ 65 แล้วแต่ความชอบ
12. การเข้าระบบ ประกันสังคม หรือ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ของข้าราชการ จะช่วยให้สามารถนำมาลดหย่อนได้อีก
กองทุน RMF (Retirement Mutual Fund) หรือกองทุนรวมเพื่อการเกษียณ ซื้อได้ไม่เกิน 15%ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาทเมื่อรวมประกันบำนาญ
ข้อแนะนำ RMF ต้องซื้อติดต่อกันไปจนถึงอายุ 55 จึงจะขายได้ ส่งติดต่อกัน ห้ามขาด อาจโหว่ได้บางครั้ง RMF มีทั้งแบบเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ การซื้อควรจัด
Allocation เหมือนประกัน คือ ซื้อแบบความเสี่ยงสูง Active 50% และแบบความเสี่ยงต่ำ passive 50%
แบบ passive เช่น ของธนชาติ TMB ภัทร พวกนี้ จะมีผลตอบแทน ประมาณ ไม่เกิน 2% ต่อปี ต้องดูชื่อเสียงและผลงาน ผ่าน Morning Star ด้วย
แบบ Active เช่น ธนชาติ TISCOAM Kasset LHFund MFC BBLam อสังหา เช่น CPAM LHFund ทองคำ เช่น Kasset ธนชาติ ผลตอบแทน 3-14% ต่อปี
กองทุน LTF (Longterm Equity Fund) พวกนี้เป็นกองทุนหุ้น มีความเสียงสูง ใช้ลดภาษีได้ ไม่เกิน 15%ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท ซื้อปี 2562 เป็นปีสุดท้าย การซื้อ LTF ควรจัด Allocation เช่นกัน คือ ชนิดมีปันผล กับไม่มีปันผล ควรแบ่ง 50/50 ปันผลเช่น ภัทร UOB Tiscoam MFC Lhfund ไม่ปันผล เช่น UOB MAMT OneAM BBLam TiscoAM ผลตอบแทนเฉลี่ย ตอนนี้ 3-5 % ต่อปี บาง บลจ ตอนนี้ขาดทุนอยู่ถึง 25% บริจาคและอื่นๆ สำหรับเงินบริจาค มี 2 ส่วน ถ้าบริจาคให้โรงเรียน จะนับให้ 2 เท่า ถ้าบริจาคให้วัดหรือมูลนิธิ ได้เท่าเดียว แต่วงเงินลดหย่อนได้ ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้ที่หัก คชจ. และลดหย่อน มาแล้ว
ตามตัวอย่าง เงินได้ 1,200,000 ภาษีที่หักไว้ 125,000 บาท ไม่วางแผนภาษี จะเสียภาษี ฐาน 20% 84,000 บาท ขอคืนได้ 41,800 บาท
ติดต่อ ที่ปรึกษาการเงิน IC license, FcHFP นาย รัชพล อยู่เย็น 081-954-9249
น.ส.ภูษณิศา อยู่เย็น 086-222-5599
0 ความคิดเห็น