ประกันแผนมรดก Prestige







                                         



//-------------------------//

การวางแผนมรดก จะใช้ประกันชีวิต หรือ ทรัสต์ ดี?

การวางแผนมรดก จะใช้ประกันชีวิต หรือ ทรัสต์ ดี?
ท่ามกลางไฟแห่งสงคราม เหล่านักรบต้องจากบ้านไป ต้องทิ้งสินทรัพย์และครอบครัวไป แบบนี้ใครจะดูแลสินทรัพย์และครอบครัว? ยิ่งถ้าครอบครัวที่ยังมีลูกยังเด็กช่วยเหลือตัวเองยังไม่ได้
ดังนั้น เริ่มคิดหาเครื่องมือหรือใครสักคนที่ไว้ใจให้ปกป้องดูแลทรัพย์สินเอาไว้ระหว่างที่ออกรบได้ หรือยัง?
นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการทรัพย์สินด้วยทรัสต์ (Trust)
Trust เป็นเครื่องมือในการส่งต่อมรดก
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับประกันชีวิต (Life Insurance) ในการส่งต่อมรดก แต่ไม่รู้จัก Trust ก็เพราะว่า คนที่จัดตั้ง Trust ได้ ต้องมีสินทรัพย์สูงเพียงพอที่จะคุ้มค่าในการจัดตั้ง

แล้ว Insurance กับ Trust แตกต่างกันอย่างไร?

การวางแผนมรดก จะใช้ประกันชีวิต หรือ ทรัสต์ ดี?

1) สินทรัพย์

Trust : สินทรัพย์ที่อยู่ใน Trust จะเป็นหลากหลายสินทรัพย์ จะเป็น financial assets เช่น หุ้น หรือ non-financial assets เช่นที่ดินได้
Insurance : จะมีเฉพาะเงินสด

2) การลงทุน

Trust : เนื่องจากมีหลากหลายสินทรัพย์ ดังนั้นจะสามารถมีการลงทุนได้หลากหลาย ขึ้นกับการจุดประสงค์ในการจัดตั้ง Trust
Insurance : จะมีบริษัทประกันเป็นคนจัดการให้

3) การจัดการมรดก

Trust : การส่งต่อมรดก ขึ้นกับ ความปรารถนาของผู้ก่อตั้ง Trust เช่น ผู้ก่อตั้ง บอกว่า ให้เงินลูกชายเดือนละ 200,000 + เงินเฟ้อ ตลอดชีวิตของลูกชาย
Insurance : จะกระจายให้เป็นเงินสดตามผู้รับผลประโยชน์

4) ภาษี

Trust : ผลประโยชน์จากกอง Trust ที่ผู้รับได้อาจจะต้องเสียภาษี
Insurance : ไม่ต้องเสียภาษี

5) ค่าธรรมเนียม

Trust : ค่าธรรมเนียมจะสูงมาก เช่น ต้องมีค่าธรรมเนียมนักกฏหมาย ผู้จัดการในการลงทุน และ อื่นๆ
Insurance : ไม่มี

6) การป้องกันสินทรัพย์จากเจ้าหนี้

Trust : Private Family Trust หรือ Asset Protection Trust อาจจะมีการป้องกันเจ้าหนี้ได้ แต่ Trust รูปแบบอื่นอาจจะไม่สามารถป้องกันเจ้าหนี้ได้
Insurance : ไม่มี

7) เหมาะกับ

Trust : มีเป้าหมายการส่งต่อแบบพิเศษ เช่น การส่งมรดกให้ลูกที่เป็นออทิสติก ต้องการส่งต่อมรดกให้กับลูกที่ยังไม่พร้อมจะบริหารสินทรัพย์ ให้ลูกที่อาจจะเกิดกับภรรยาคนที่ 2
Insurance : ต้องการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์ในการส่งต่อมรดก และป้องกันเจ้าหนี้
สมพจน์ พัดสุวรรณ
WealthGuru

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น