ประกันกลุ่มพนักงาน Employee Insurance




ประกันกลุ่มคืออะไร

ประกันกลุ่มคือ ประกันภัยประเภทหนึ่งที่เหมาะสำหรับการประกันภัยบุคคลหลายคนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ทำประกันกลุ่มจะเป็นนายจ้าง บริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับลูกจ้างและพนักงาน ซึ่งประกันภัยกลุ่มนายจ้างสามารถทำให้กับลูกจ้างและพนักงานได้หลายรูปแบบ เช่น การประกันชีวิตกลุ่ม การประกันอุบัติเหตุกลุ่ม การประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงกลุ่ม การประกันสุขภาพกลุ่ม

ประโยชน์ของประกันกลุ่ม 

แน่นอนว่า ประกันกลุ่ม เป็นสวัสดิการที่มีประโยชน์กับพนักงาน เพราะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจ และเพิ่มความสุขในการทำงานยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย ซึ่งประกันกลุ่มยังสามารถใช้ร่วมกับประกันสังคม แต่ผู้ป่วยจะต้องไปเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ระบุสิทธิประกันสังคมไว้ โดยค่ารักษาพยาบาลส่วนต่างทางโรงพยาบาลจะเรียกเก็บกับประกันสังคม






การทำประกันแบบกลุ่ม คือ การประกันชีวิตบุคคลหลาย ๆ คน ที่อยู่ภายใต้กรมธรรม์ฉบับเดียวกัน ซึ่งส่วนใหญ่ตามกลุ่มต่างๆ ที่มักนิยมทำได้แก่ สถาบันการศึกษา, โรงเรียน, บริษัท, ห้างร้าน, หน่วยงานของรัฐ, สหกรณ์ออมทรัพย์ ,สมาคมพนักงาน ฯลฯ  ซึ่งจะว่าไปการทำประกันแบบกลุ่ม จะช่วยลดภาระความเสี่ยงโดยการโอนความรับผิดชอบให้กับบริษัทประกัน  ซึ่งการทำประกันแบบกลุ่ม ถือเป็นสวัสดิการที่จะช่วยสร้างขวัญและกำลังใจให้กับพนักงาน หรือนักเรียน นักศึกษา

ความหมายของการทำประกันแบบกลุ่ม คืออะไร?

บริษัทต่างๆ มักจะมีสวัสดิการให้กับพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดวันลา  มีรถรับ-ส่งพนักงาน หรือมีค่ารักษาพยาบาลหรือการให้ลูกจ้างเข้าเป็นสมาชิกกองทุนประกันสังคม  เหล่านี้ต่างก็เป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่ง ส่วนการทำประกันภัยกลุ่ม ซึ่งนายจ้างเองก็สามารถทำให้ลูกจ้างได้ทุกคน ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเสริมคุณภาพชีวิตให้ลูกจ้าง  ซึ่งความหมายของการการทำประกันแบบกลุ่ม ก็คือเป็นการรับประกันภัยบุคคลที่มีหลาย ๆ คนภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับเดียว โดยมีนายจ้างเป็นเจ้าของกรมธรรม์ ส่วนลูกจ้างเป็นผู้เอาประกันภัยการออกกรมธรรม์ ซึ่งจะออกเพียงฉบับเดียวให้กับนายจ้าง หรือที่เรียกว่า “กรมธรรม์หลัก” และลูกจ้างจะได้รับเอกสารคือ “ใบรับรอง” ไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งเป็นการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อและอายุของผู้เอาประกันภัย และจำนวนเงินเอาประกันภัย รวมถึงชื่อของผู้รับประโยชน์ โดยรูปแบบประกันภัยกลุ่มที่นายจ้างสามารถทำให้ลูกจ้างได้นั้นมีหลายรูปแบบด้วยกัน

ข้อดีการทำประกันแบบกลุ่ม

การทำประกันแบบกลุ่ม ทำขึ้นเพื่อที่จะช่วยลดความขัดแย้งในการเรียกร้องเงินชดเชยเกี่ยวกับการเสียชีวิต หรือค่ารักษาต่างๆ  นอกเหนือจากที่นายจ้างสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสวัสดิการ ที่เป็นการชดเชยค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยเกี่ยวกับ การเสียชีวิตได้อย่างแน่นอน ซึ่งแต่ละปีที่แม้ว่าอาจมีการสูญเสียมากก็ตาม ซึ่งการประกันชีวิตกลุ่ม จะให้ความคุ้มครองสูง โดยจะเป็นการชำระเบี้ยประกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งทางบริษัทสามารถแจ้งพนักงานเข้าออกได้ระหว่างปีกรมธรรม์  กรณีพนักงานเข้าใหม่บริษัทจะเรียกเก็บเบี้ยเพิ่ม และหากลาออกก็จะมีการคืนเบี้ยให้ ซึ่งการทำประกันแบบกลุ่ม เป็นกรมธรรม์ฉบับเดียว ที่ออกในนามนายจ้าง หรือหน่วยงาน สำหรับพนักงาน ก็จะได้รับใบสำคัญของสมาชิก ที่จะมีการระบุถึงรายการที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยจะมีการติดต่อประสานงานระหว่าง ผู้ทรงกรมธรรม์กับบริษัท

รูปแบบของการทำประกันแบบกลุ่ม

การทำประกันแบบกลุ่มให้ความคุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บทั้งในและนอกเวลาในช่วงเวลาทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และทั่วโลกโดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินประกันให้กับทายาทหรือผู้รับประโยชน์ของลูกจ้าง ในกรณีที่เสียชีวิต
  • การทำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม
การทำประกันอุบัติเหตุกลุ่ม จะให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็น มือ เท้า สายตา ที่เกิดจากอุบัติเหตุ ซึ่งบางบริษัทอาจมีเงินชดเชยสำหรับค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บทำให้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล  
  • การทำประกันทุพพลภาพแบบกลุ่ม
การทำประกันแบบทุพพลภาพ แบบกลุ่ม เป็นแบบถาวรสิ้นเชิง ซึ่งจะให้ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพถาวรแบบสิ้นเชิงจากการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วทางบริษัทประกันจะคุ้มครองเมื่อพนักงานหรือลูกจ้างที่ทำปะกันแบบกลุ่มได้ตกเป็นผู้ทุพพลภาพต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 180 วัน
  • การทำประกันสุขภาพกลุ่ม
การทำประกันสุขภาพกลุ่ม เป็นการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาล ที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย โดยมีทั้งกรณีการรักษาพยาบาลแบบที่เป็นผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก

การเลือกการทำประกันแบบกลุ่ม

การทำประกันแบบกลุ่ม เป็นการทำประกันภัยที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการคุ้มครองระยะเวลา1 ปี โดยการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ที่สามารถเลือกได้หลายรูปแบบ หลากหลายความคุ้มครองซึ่งนายจ้างสามารถเลือกได้ว่าต้องการซื้อความคุ้มครองแบบใดให้กับลูกจ้าง หรือจะทำประกันชีวิตกลุ่มเป็นสัญญาหลัก การเลือกซื้อประกันอุบัติเหตุ ทุพพลภาพหรือสุขภาพ เพื่อเป็นสัญญาเพิ่มเติม และเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้กับลูกจ้างหรืออาจเลือกซื้อประกันภัยกลุ่มแบบที่รวมความคุ้มครองหลายๆ ด้านเข้าด้วยกันก็ได้ ซึ่งนายจ้างยังสามารถทำประกันภัยกลุ่มแบบที่ให้ความคุ้มครองลูกจ้าง ให้กับคู่สมรสและบุตรของลูกจ้างได้อีกด้วย

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันจากการทำประกันแบบกลุ่ม

การกำหนดจำนวนเงินเอาประกันจากการทำประกันแบบกลุ่ม  จะเท่ากันทั้งหมดทุกคน โดยจะกำหนดตามตำแหน่งงานกำหนดตามช่วงเงินเดือนหรือกำหนดเป็นจำนวนเท่าของเงินเดือน รวมถึงการกำหนดตามอายุงาน สำหรับการรับทำประ กัน บริษัทประกันจะพิจารณาความเสี่ยงภัยของบุคคลในกลุ่มทั้งหมด จากอัตราเฉลี่ยไม่ว่าจะเป็น หน้าที่การงาน อายุ เพศ หรือจำนวนเงินเอาประกันภัย ซึ่งนำมาคำนวณเป็นอัตราเบี้ยประกันภัย ที่เป็นเพียงอัตราเดียวเพื่อใช้สำหรับทุกคนในกลุ่ม และอัตราเบี้ยการทำประกันแบบกลุ่ม จะมีการพิจารณาใหม่ทุกๆ รอบปีกรมธรรม์ ซึ่งปกติจะรับประกันเฉพาะลูกจ้างประ จำที่ทำงานเต็มเวลา แต่ไม่รวมถึงลูกจ้างชั่วคราวและไม่มีการตรวจสุขภาพ ยกเว้นแต่ผู้ที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยขั้นสูงที่อาจต้องมีการตรวจสุขภาพ ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกัน

นอกจากนี้ การทำประกันแบบกลุ่ม โดยดูจากขนาดของกลุ่มก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณารับทำประกัน ซึ่งจะมีการกำหนดจำนวนลูกจ้าง เพื่อขอเอาประกันภัยขั้นต่ำไว้อย่าง 5 -10 คน  ซึ่งบางบริษัทประกันอาจมีส่วนลดเบี้ยประกันภัยให้หากมีจำนวนลูกจ้างที่มาขอเอาประกันภัยจำนวนมาก สำหรับการชำระเบี้ยการทำประกันแบบกลุ่ม สามารถจ่ายชำระเป็นรายปี หรือรายเดือนโดยนายจ้างจ่ายฝ่ายเดียว หรืออาจมีการจ่ายร่วมกันระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างโดยมีเงื่อนไขคือ นายจ้างเป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยฝ่ายเดียว และต้องมีจำนวนลูกจ้าง หรือสมาชิกที่ได้เข้าร่วมรับความคุ้มครองร้อยละ 100ของผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง  และนายจ้างกับลูกจ้าง สามารถร่วมกันชำระเบี้ยประกันภัย แต่ต้องมีจำนวนลูกจ้าง หรือสมาชิกเข้าร่วมรับความคุ้มครอง ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ75 ของจำนวนผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองนั่นเอง


ประกันกลุ่ม ทั้งแบบมี ผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอก อุบัติเหตุ กดขอข้อมูลที่นี่

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น